PostHeaderIcon เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับpower supplyครับ



ในเรื่องนี้จะบอกถึงความรู้ต่างๆที่PSUที่ดีควรมี และวิธีการคิดคำนวณแรงไฟอะไรต่างๆของPSUครับ



งานกราฟฟิคกับการเล่นเกมส์ที่กินพลังงานเยอะๆ ลองรันดูที่ค่าสูงสุดของงานนั้นๆ และใช้พวกโปรแกรมมอนิเตอร์ ตรวจดูว่า โวลท์ ของแต่ละเอ้าท์พุทมันตกมากมั๊ย(ASUS PROBE)
ยกตัวอย่างเช่น

12V +-0.9
5V +-0.5
3.3V +-0.3
5Vsb +-0.5
-12V +-0.4

(+/-) ที่ผมลงไว้หมายถึง ค่าคลาดเคลื่อนหรือ torralance ครับ ต้องไม่ควรมากหรือน้อยเกินไปกว่านี้

ส่วนกระแสก็ต้องใช้แอมพ์มิเตอร์มาวัดเอาล่ะครับ ยิ่งมี scope ก็ยิ่งดีใหญ่ ก็วัดแรงดัน(v)ดู และ วัดกระแส(I) ดูแล้วเอาทั้งหมดมาคำนวน อย่างเช่น

12v วัดดูแล้วได้ 11.8v กระแสที่วัดได้ 30A
5v วัดดูแล้วได้ 4.8v กระแสที่วัดได้ 20A
3.3v วัดดูแล้วได้ 3.28v กระแสที่วัดได้ 10A
-5v วัดดูแล้วได้ -5v กระแสที่วัดได้ 0.5A
5Vsb วัดดูแล้วได้ 5v กระแสที่วัดได้ 2A

5Vsb เป็นโวลท์สแตนบาย ขณะยังไม่ออนสวิชท์ (สแตนด์บาย อาจจะเป็น 5 หรือ 3.3 ก็ได้แล้วแต่ลูกค้าต้องการ) มันก็จะยังกินไฟตลอด เพราะต้องจ่ายไฟเลี้ยงให้พวก ic คอนโทรลเลอร์ ให้ ic หรือ วงจรร่วมพวกนี้ มันเตรียมพร้อมรับคำสั่งที่คุณจะ on switch ประมาณว่าเสียบปลั๊กก็เริ่มกินพลังงานแล้วครับ)

เมื่อเอามาคิด
12v จะได้ 11.8*30 = 354w
5v จะได้ 4.8*20 = 96w
3.3v จะได้ 3.28*10 = 32.8w
-5v จะได้ 5*0.5 = 2.5w
5vsb จะได้ 5*2 = 10w

ฉะนั้น Power รวม 354+96+32.8+2.5+10 = 495.3 วัตต์ ครับ

ถ้าจะคิด Efficiency หรือ ประสิทธิภาพด้วย ก็เอา V-in (บ้านเราก็ประมาณ 220-230v) คูณ I-in (I-in อันนี้ต้องใช้แอมพ์มิเตอร์วัดเอาครับ แบบคล้องก็ได้)

เอา 495.3/(V-in คูณ I-in) ก็จะได้ประสิทธิภาพจริงๆของซัพพลายที่คุณใช้อยู่ออก
มาครับ ถ้าคุณสามารถวัดได้นั่นคือความเป็นจริงครับ ลืมป้ายระบุ(label)ไปได้เลย

นี่แหล่ะครับที่เรียกกันว่าวัตต์แท้ที่ซัพพลายกะลังจ่ายออกมา ซึ่งถ้าจะเอากันจริงๆมันจะมี requirement มากมายให้ทำกาทดลองเพื่อให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

ข้อกำหนดคร่าวๆทั่วไป (ถ้าเป็นลูกค้าแบรนด์อย่าง HP / DELL / SUN MICRO / SONY ERICSON / NEC / etc มีอีกพะเรอเกวียนครับ กว่าจะขายได้แต่ละรุ่น ตั้งแต่ 90w ไปจนถึง
2000w) ตัวอย่างเช่น

-กำลังงานขาออก Output power
-ประสิทธิภาพ Efficiency
-ช่วงแรงดันอินพุต Input voltage
-แรงดันและกระแสขาออก Output voltage and current
-ไลน์เรกกูเลชั่น Line regulation
-โหลดเรกกูเลชั่น Load regulation
-แรงดันกระเพื่อมและนอยส์ Ripple and noise
-ค่าเวลาโฮลด์อัพ Hold up time
-สัญญานรบกวนจากสวิตชิ่ง RFI / EMI สัญญานรบกวน พาและนำ
RFI = RADIO FREQUENCY INTERFERENCE
EMI = ELECTROMAGNETIC INTERFERENCE
-การตอบสนองโหลดภาวะชั่วครู่ Transient response
-การแยกจากกันทางไฟฟ้า Isolation
-ความถี่การทำงานสวิตชิ่ง Switching Frequency
ฯลฯ

ถ้าซัพพลายตัวนั้น ญี่ห้อนั้นทำได้ตามที่ผมยกตัวอย่างมาคร่าวๆนี้ได้ทั้งหมดก็ไม่ต้องคิดกังวล อะไรเลยที่จะซื้อมันมาใช้ครับ

แต่การที่จะบอกว่าวัตต์แท้วัตต์เทียมนั้นผมว่ามันไม่มีครับ เป็นการเรียกกันเอง
ซัพพลายปลอมเค้าก็สามารถออกแบบมาให้จ่ายพลังงานได้เท่ากับของแท้

ประมาณนี้ครับผม ขณะที่ซัพพลายทำงานเต็มที่ ถ้าโวล์ตกมากก็แสดงว่ามัน peak แล้วครับ คงใช้ได้อีกไม่นาน แต่ถ้าโวล์ยังอยู่ในเกณท์ก็สบายใจได้ครับ แต่ที่ผมห่วงคือพวก supply จากจีนแดง ทั้งแมททีเรียลต่างๆที่นำมาประกอบ น่าจะเป็นของเกรทต่ำมากๆ และไม่ผ่านการตรวจสอบด้านความปลอดภัย เพราะฉะนั้นผมแนะนำอย่างนี้ว่า ซัพพลายคือหัวใจและเส้นเลือด หาซื้อที่มีมาตรฐานและการรับประกันที่ดี และมีประสิทธิภาพหรือ Efficiency เกิน 80% ขึ้นไปครับ (80 จริงๆนะครับไม่ใช่แจ้งหลอกๆไว้ที่ป้ายแต่ไม่มีการตรวจสอบจากตัวแทนก่อนนำมา จำหน่าย)จะดีที่สุดครับผม

พยายามเอามาแชร์ให้ทุกๆทั่นได้รับทราบกันครับ เพราะงาน R&D มันมักจะได้เจออะไรใหม่ๆ

ความรู้จากท่าน:ksurachai ผู้เชียวชาญด้านPSUครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

ผู้ติดตาม